เดิมทีเป็นส่วนหนึ่งของตำบลลอ
อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ต่อมาอำเภอเชียงคำได้แยกมาเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพะเยา
เมื่อปี พ.ศ. 2512 และตำบลหงส์หินก็ได้แยกออกจากตำบลลอ
เมื่อ ปี พ.ศ. 2519 เพื่อจัดตั้งออกเป็นอีกตำบลหนึ่ง
เรียกว่า ตำบลหงส์หิน ซึ่งได้ใช้ชื่อพระธาตุหงส์หินที่ชาวบ้านนับถือมาแต่โบราณกาลมาตั้งเป็นชื่อตำบล
ขนาดและที่ตั้ง
ตำบลหงส์หิน มีพื้นที่ประมาณ
48,722 ไร่ หรือประมาณ 77.95 ตารางกิโลเมตร
เป็นพื้นที่อยู่อาศัย 26,464 ไร่ พื้นที่สาธารณะ
1,588 ไร่ พื้นที่ป่า 7,743 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่ไม่ได้จำแนก
12,927 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
อาณาเขต
ตำบลหงส์หินมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ
ตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลลอ
อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ
ตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอจุน และตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลหงส์หินมีลักษณะเป็นที่ราบ
และมีภูเขาล้อมรอบทางด้านทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ
80 เป็นพื้นที่ราบ ใช้ในการทำการเกษตร และเป็นที่อยู่อาศัย
และประมาณร้อยละ 20 เป็นพื้นที่ราบสลับกับภูเขา
ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่เพราะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
มันสำปะหลัง ยางพารา และใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์
ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลหงส์หินมีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อนอยู่ในเขตอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มี3ฤดู
ประกอบด้วย
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน
กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน
มิถุนายน - กันยายน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน
ตุลาคม - มกราคมการเมืองและการปกครอง
เทศบาลตำบลหงส์หิน
มีหมู่บ้านในเขตการปกครอง จำนวน 13 หมู่บ้าน
ดังนี้
เป็นหมู่บ้านในเขต เทศบาลทั้งหมด
ประชากร
- จำนวนหลังคาเรือนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
2,450 หลังคาเรือน
- จำนวนประชากรทั้งหมดในพื้นที่ตามฐานทะเบียนราษฎร์
7,012 คน
- ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ....90....คน/ตารางกิโลเมตร-
ข้อมูลประชากร ณ เดือน
ตุลาคม 2554 (ฝ่ายทะเบียนและบัตรอำเภอจุน)
วิสัยทัศน์การพัฒนา
ตำบลหงส์หินเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์
ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับการศึกษาประกอบกับมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและองค์กรอย่างเป็นระบบ
พันธกิจ
พัฒนาทางด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน
พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และได้มาตรฐาน
อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและชุมชน
พัฒนาระบบการบริหาร
การบริการที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ